4. ลักษณะของบุคลิกภาพ
การจำแนกประเภทหรือลักษณะของบุคลิกภาพย่อมแตกต่างกันออกไปตามความคิด
ความเห็นของบุคคล เช่น บางคนจำแนกบุคลิกภาพออกเป็นทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
หรือบางคนจำแนกออกเป็น บุคลิกภาพทางกาย สติปัญญา ความสามารถ อารมณ์ ความสนใจ
อุปนิสัย และการปรับตัว เป็นต้น (สงวน
สุทธิเลิศอรุณ, 2553,
น. 12).
การที่ครูมีบุคลิกภาพดี
ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีความสวยงามหรือหล่อเท่านั้นหากแต่จะต้องมีองค์ประกอบอื่นๆซึ่งครูทุกคนสามารถฝึกฝนให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดีได้
และครูที่มีบุคลิกภาพดีย่อมประสบความสำเร็จในชีวิตแล้วส่วนหนึ่ง
ดังนั้นบุคลิกภาพจึงมีความสำคัญต่อครูเป็นอย่างยิ่งซึ่งพอจะจำแนกได้เป็น 4 ด้าน คือ
4.1 บุคลิกภาพทางกาย
บุคลิกภาพทางกายเป็นบุคลิกภาพที่สังเกตได้และเป็นสิ่งที่ปรากฏต่อบุคคลทั่วไป
เป็นความประทับใจครั้งแรกที่เกิดกับผู้พบเห็น บุคลิกภาพทางกายทั่วไป มีดังนี้
1) รูปร่าง หน้าตา
และผิวพรรณบุคลิกภาพส่วนนี้เป็นมาโดยกำเนิด อาจแก้ไขได้ยาก
แต่ก็สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้ตามสมควร
ผู้เป็นครูไม่ว่ารูปร่างจะเป็นอย่างไรที่สำคัญต้องมีความแข็งแรง สมบูรณ์ปราศจากโรค
ไม่เป็นทาสสิ่งเสพติด ซึ่งจะทำให้ร่างกายทรุดโทรม
2) การแต่งกายบุคลิกภาพในส่วนด้านการแต่งกายของครูนั้นเป็นสิ่งแรกที่นักเรียน
ผู้ปกครอง
และประชาชนมองเห็นจึงมีผลต่อการสร้างเจตคติที่ดีต่อตัวครูการแต่งกายที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของครูจึงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
2.1) แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่และความนิยมของสังคมในโอกาสต่างๆ
เช่น ศาสน-สถาน สถานที่ราชการและงานกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
2.2) แต่งกายให้เหมาะสมกับฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ
คือ ต้องแต่งกายให้เหมาะสมกับสถานภาพ และต้องไม่เกินความจำเป็น
2.3) ความสะอาดของเครื่องแต่งกาย
ทั้งเสื้อผ้าและรองเท้าไม่จำเป็นต้องมีราคาสูงนักแต่จะต้องมีความสะอาดอยู่เสมอ
2.4) สวมเสื้อผ้าให้เหมาะกับรูปทรงและเรียบร้อยอยู่เสมอ
2.5) การใช้เครื่องประดับที่มีค่า
ครูไม่ควรใช้ของมีค่าแพงเกินความจำเป็น
3)
กิริยามารยาท กริยามารยาทที่ดีก็คือการวางตัวให้ถูกกาลเทศะ
เหมาะกับแต่ละบุคคลที่ปฏิสันถารด้วย โดยมีความสุภาพเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด
4.2 บุคลิกภาพทางสังคม
บุคลิกภาพทางสังคมเป็นบุคลิกภาพที่แสดงออกให้ผู้อื่นได้พบเห็น
เช่นเดียวกับบุคลิกภาพทางร่างกาย
เพียงแต่บุคลิกภาพทางสังคมนั้นอาจมีผลจากบุคลิกภาพภายในของบุคคลนั้นๆ
ซึ่งเป็นแรงขับที่สำคัญ โดยเฉพาะคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม. ได้แก่ ความจริงใจ
ความซื่อสัตย์ เป็นต้น
4.3 บุคลิกภาพทางอารมณ์
บุคลิกภาพทางอารมณ์ เป็นบุคลิกภาพภายในที่อาจแสดงออกมาให้เห็นหรือไม่ก็ได้
บุคลิกภาพทางอารมณ์ของครู ได้แก่
1) อารมณ์ขัน
จากผลการวิจัยทั้งของนักศึกษาไทยแบะต่างประเทศตรงกันว่า
อารมณ์ขันเป็นบุคลิกภาพด้านหนึ่งของครูที่นักเรียนเห็นว่าสำคัญมาก การมีอารมณ์ขันช่วยให้การสอนสนุกสนามเป็นศิลปะของการสอนประการหนึ่ง
นอกจากนี้อารมณ์ขันยังช่วยให้ครูใช้สร้างบรรยากาศและสร้างความสนิทสนมกับผู้อื่นได้ง่าย
2) อารมณ์ดี
เป็นบุคลิกภาพอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ครูเป็นคนน่ารัก (ปิโย)
นักเรียนมีความกล้าและพอใจที่จะเข้ามาพบปะเพื่อปรึกษาปัญหาต่างๆ ของตน
3) อารมณ์เย็น
เป็นบุคลิกที่ช่วยให้ครูเป็นผู้น่าคบค้าสมาคมด้วย
ช่วยให้ครูมีความอดทนในการสั่งสอนศิษย์
ไม่วู่วามในการแก้ปัญหา
การดุด่าว่ากล่าวศิษย์จะเป็นไปโดยมีเหตุผลสมควร
ช่วยให้ครูพูดจาไพเราะและสุภาพอยู่เสมอ
4) ความมั่งคงทางอารมณ์ (Emotional
Intelligent) ครูที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีจะได้เปรียบในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติหน้าที่การงาน
ความมั่งคงทางอารมณ์เป็นบุคลิกภาพที่สำคัญที่สุดของทุกอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นครู
4.4 บุคลิกภาพทางสติปัญญา
บุคลิกภาพทางด้านสติปัญญา เป็นเรื่องของเชาวน์ปัญญาแต่ละคนเกิดจากพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ สติปัญญาจะดีเพียงใด เฉลียวฉลาดมากน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับมันสมองเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตามการศึกษาแบะสิ่งแวดล้อมก็สามารถช่วยพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของสติปัญญาได้ไม่น้อยเช่นกัน
บุคลิกภาพทางด้านสติปัญญาของครูนั้นขึ้นอยู่กับครูแต่ละคนว่าจะเลือกกิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างไร หากครูรู้จักค้าคว้าวิจัย (Action Research) หมั่นแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
อยู่เสมอ ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบในการแก้ปัญหาต่างๆ การแสวงหาความรู้คือ
การแสวงหาข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ นั่งเอง ครูต้องรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อสติปัญญา
เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา ฟังเพลง ท่องเที่ยวตามพิพิธภัณฑ์หรืออุทยานแห่งชาติ
ดูนิทรรศการต่างๆ เป็นต้น
บุคลิกภาพมีความสำคัญทั้งในด้านส่วนตัวและด้านอาชีพสำหรับผู้ที่ประกอบวิชาชีพครูนั้น ความมีความบุคลิกภาพที่ดีย่อมเป็นที่ชื่นชอบของลูกศิษย์ ของผู้ปกครอง
และส่งผลให้ครูสามารถสร้างสัมพันธภาพกับสังคมได้อย่างง่ายดาย เพราะเป็นคนที่น่าเชื่อถือแก่คนที่พบเห็น ซึ่งนับเป็นบุคลิกภาพภายนอกที่ดี และในขณะเดียวกันอาชีพครูจะต้องเป็น "แม่แบบ" ให้แก่สังคม ดังนั้นผู้เป็นครูจะต้องมีบุคลิกภาพภายในที่งดงามด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณากันอย่างกว้างๆ
แล้ว บุคลิกภาพของคนเราสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
1) บุคลิกภาพภายนอก
ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ประสาททั้ง 5
คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย บุคลิกภาพภายนอกนี้สามารถแก้ไข ปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงได้ง่าย โดยใช้เวลาฝึกและแก้ไขปรับปรุงไม่นานนัก
และสามารถวัดผลได้ทันที บุคลิกภาพภายนอกของคนเราที่สำคัญก็คือ
บุคลิกภาพทางกายและวาจา
2)
บุคลิกภาพภายใน
เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสได้ยาก ต้องทำงานร่วมกันนานๆจึงจะสังเกตเห็น
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร
และบุคลิกภาพภายในบางอย่างไม่สามารถแก้ไขได้
บุคลิกภาพภายในส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญา อารมณ์ และจิตใจ
ตารางแสดงตัวอย่างลักษณะบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพภายนอก
|
บุคลิกภาพภายใน
|
- รูปร่างหน้าตา
- กริยามารยาท
- ลักษณะการยืน
เดิน นั่ง วิ่ง
- สีหน้าแววตา
- การปรากฏตัวในสังคม
- การแต่งกาย
- น้ำเสียงที่พูด
- ลักษณะการพูด
- การใช้ถ้อยคำ
- ความมีน้ำใจ
|
- ความคิดริเริ่ม
-ความรอบรู้
- ปฏิภาณไหวพริบ
- ความจำ
- ค่านิยม
- ความเชื่อมั่นในตนเอง
- ความมั่นคงทางอารมณ์
- อารมณ์ขัน
- ความกระตือรือร้น
- ความซื่อสัตย์จริงใจ
- ความรับผิดชอบ
- ความเสียสละ
|
ตารางที่ 1 ลักษณะบุคลิกภาพ
อ้างอิง : ปรีชา เศรษฐีธร,
2533, น. 344
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น