วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การพัฒนาบุคลิกภาพของครู

6.  การพัฒนาบุคลิกภาพของครู
การพัฒนาบุคลิกภาพ  หมายถึง การวิเคราะห์บุคลิกภาพของแต่ละคนว่าเหมาะสมเพียงใด แล้วพยายามปรับปรุงแก้ไขส่วนที่ยังขาดหรือบกพร่องให้เหมาะสม หรือเป็นไปได้ในลักษณะที่ตนปรารถนา 
การพัฒนาบุคลิกภาพของครู หมายถึง การแก้ไข ปรับปรุง และฝึกฝนบุคลิกภาพทั้งทางด้านร่างกาย บุคลิกภาพทางด้านอารมณ์ บุคลิกภาพทางด้านสังคม และบุคลิกภาพทางด้านสติปัญญาของครู ให้เหมาะสมในการประกอบวิชาชีพครู
การพัฒนาได้มีผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันดังนี้
 1)  การพัฒนา คือ วิธีการอย่างหนึ่งที่ทําให้มนุษย์มีการดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข (Good life) โดยจะต้องมีการจัดหาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพมาปรับปรุงสภาพทางวัตถุที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตเพื่อให้มีอิสระจากการอยู่ใต้อํานาจของธรรมชาติความขาดแคลน หรือสิ่งอื่นใดที่กดดันให้ชีวิตขาดเกียติยศและชื่อเสียง
 2)  การพัฒนา คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมรูปแบบหนึ่ง ที่มีการนําเอาความคิดใหม่(Innovation) เข้ามาในระบบสังคม ซึ่งจะทําให้ชีวิตความเป็นอยู่ รายได้ต่อหัวของบุคคลสูงขึ้นอับเนื่องมาจากใช้วิธีการผลิตที่ทันสมัย และจัดระบบของสังคมให้ดีขึ้น
 3)  การพัฒนา คือ กระบวนการที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการจัดสรรทรัพยากรของสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่จะทําให้บรรลุเป้าหมายที่สังคมนั้นได้เลือกสรรแล้ว ด้วยการควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาบุคลิกภาพ คือ การเปลี่ยนแปลงให้บุคลิกภาพดีขึ้น และดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข มีความมั่นใจในตนเอง มีพลังในการทํางาน เกิดเป็นกระบวนการที่ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงใทางที่ดีขี้น และมีทัศนคติที่ดีขึ้นมี กระบวนการดังนี้
1)  การวิเคาะห์ตนเอง เป็นกระบวนการที่บุคคลเริ่มสำรวจบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของตนเอง เพื่อที่จะได้รู้ตนเองนั้นมีลักษณะบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยอย่างไรบ้างและ บุคลิกภาพที่มีอยู่นั้นควรกับความต้องการของสังคมหรือไม่ เคยมีปัญหาใดในการแสดงบุคลิกภาพบ้างหรือไม่ การสำรวจตนเองจะทำได้ใน 2 ทางคือ
          1.1)  การวิเคราะห์ตนเอง เป็นการที่บุคคลพยายามค้นหาองค์ประกอบบุคลิกภาพของตนเองเพื่อได้ทราบว่าองค์ ประกอบแต่ละอย่างนั้นมีความสมบูรณ์ถูกต้อง อย่างไรบ้างเมื่อแยกวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ แล้ว ก็ควรจะประเมินสรุปบุคลิกภาพของตนเองว่าควรจะคงไว้ในส่วนใดและควรจะปรับปรุง ในส่วนใด ที่สำคัญคือผู้วิเคราะห์ตนเองจะต้องยอมรับในข้อบกพร่องเพื่อการแก้ไขต่อไป ด้วย
          1.2)  การรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น โดยปกติแล้วมนุษย์จะมีความลำเอียงเข้าข้างตนเองเสมอๆ ดังนั้นการวิเคราะห์ตนเองเพียงประการเดียว อาจจะยังไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอในการปรับปรุงบุคลิกภาพ จึงจำเป็นจะต้องประเมินตนเองโดยการอาศัยการมองของผู้อื่นว่าเขาคิดอย่างไร ต่อบุคลิกภาพของเรา เพื่อจะได้นำส่วนที่บกพร่องมา แก้ไขต่อไป
               2)  การปรับปรุงแก้ไข เมื่อบุคคลสำรวจตนเองได้ข้อมูลมากเพียงพอแล้ว บุคคลควรจะประมวลสรุปบุคลิกภาพเพื่อรู้จักตนเองใน 3 ลักษณะคือ
          2.1)  อุปนิสัยและนิสัยของตนเอง
          2.2ลักษณะส่วนรวมของตนเอง
          2.3)  บทบาทของตนเอง
 3)  การแสดงออกใหม่หรือการฝึกฝนตนเอง เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ตนเองแล้วมาตรวจพบข้อบกพร่องต่างๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุง โดยการที่บุคคลจะต้องมองหาลักษณะบุคลิกภาพที่จะเป็นแบบอย่างที่จะใช้ในการ ปรับปรุงต่อไปแล้วพยายามเตือนตนเอง ให้ละทิ้งบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยเดิมที่บกพร่อง แล้วพยายามปฏิบัติตามแบบอย่างของบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยใหม่ การปรับปรุงบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและจะต้องมี ความตั้งใจจริง โดยตัวของบุคคลที่จะปรับปรุงบุคลิกภาพเองจะต้องให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ด้วยการยอมรับข้อบกพร่องของตนและผลที่มีต่อตนเองและผู้อื่นเป็นประการสำคัญ ทั้งต้องรู้จักแสวงหาหนทางที่จะช่วยให้ ตนเองได้รับรู้บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยที่สร้างสรรค์อันควรต่อการเสริมสร้าง ให้เกิดขึ้น                                                                                      .               4.การประเมินผลตนเอง เป็นการสำรวจตรวจสอบขั้นสุดท้าย หลังจากได้กระทำตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ หรือตั้งใจไว้ การประเมินผลทางบุคลิกภาพ ควรผู้อื่นประเมินด้วย จะทำให้มั่นใจมากขึ้น
บุคลิกภาพที่ดีของครูจะเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งอย่างหนึ่งที่จะสร้างความประทับใจ ความศรัทธาและความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นแก่ผู้พบเห็น นักจิตวิทยาการศึกษาให้ความสำคัญเรื่องบุคลิกภาพอย่างมาก เพราะเชื่อว่าบุคลิกภาพเป็นการจัดระบบพฤติกรรมของบุคคลที่ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลเท่านั้น บุคลิกภาพยังเป็นตัวตนของคนแต่ละคนอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comments system

Disqus Shortname