วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะของบุคลิกภาพที่ครูควรทราบ

7.  ลักษณะของบุคลิกภาพที่ครูควรทราบ
                แนวความคิดเรื่องบุคลิกภาพนั้น นักจิตวิทยาได้พยายามศึกษาค้นคว้าและวิจัยในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวาง มีการนำเสนอลักษณะของบุคลิกภาพซึ่งอาจจำแนกได้เป็นลักษณะของบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ ลักษณะของบุคลิกภาพที่บกพร่อง ตลอดจนประเภทต่างๆของบุคลิกภาพที่เบี่ยงเบน
ลักษณะของบุคลิกภาพที่สมบูรณ์                                                                                                 นักจิตวิทยาเสนอลักษณะบุคลิกภาพที่สมบูรณ์บางลักษณะไว้ดังนี้
1.  รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น สามารถแก้ปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.  ยอมรับสภาพที่แท้จริงของตนเองและผู้อื่น สามารถสร้างความสัมพันธ์อันอบอุ่นกับผู้อื่นได้
3.  เป็นผู้ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ สามารถควบคุมอารมณ์ของตนได้
4.  พร้อมจะเผชิญหน้ากับประสบการณ์ใหม่ สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ตามความจริง
5.  รู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง สามารถปรับสภาพจิตให้ปกติได้
6.  เป็นผู้ที่มีปรัชญาชีวิตที่แน่นอนพอสมควร สามารถดำเนินชีวิตโดยปราศจากความกลัว
7.  เป็นผู้มีอิสระทางใจในการคิดและการกระทำ สามารถจัดการกับชีวิตตนเองได้โดยไม่มีความคับข้องใจ
8.  คิดถึงตนเองในทางที่ดี สามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ อย่างที่สังคมทำได้

ลักษณะของบุคลิกภาพที่บกพร่อง
               ริชชาร์ด บูทซิน(Bootzin , 1986 ; 737) อธิบายเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่บกพร่อง (Personality disorder) ว่าเป็นบุคลิกภาพที่ยุ่งเหยิงหรือวิปลาสเกี่ยวข้องกับการไม่รู้จักผ่อนปรน หรือไม่ยืดหยุ่นและเป็นลักษณะของบุคลิกภาพอันเกิดจากการทำงานของอวัยวะบางส่วนบกพร่องโดยทั่วไปบุคลิกภาพที่บกพร่องจะมีลักษณะให้เห็นดังนี้
1.             เป็นผู้ที่มีท่าทางแปลกๆ เช่น ขยิบตาถี่ๆ ใช้มือป้องปาก ชอบกัดเล็บ ฯ
2.             เป็นผู้มีปมด้อยซึ่งทำให้ถอยหนีจากสังคมหรือมักแสดงอาการข่มขวัญ หรือ ใช้คำพูดข่มผู้อื่นเพื่อปกปิดตนเอง
3.             เป็นผู้ที่มักจะขอพึ่งพาผู้อื่น ไม่กล้ารับผิดชอบขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
4.             เป็นผู้ต่อต้านสังคม มองโลกในแง่ร้าย ชอบเป็นปรปักษ์กับสังคม
5.             เป็นผู้มีอารมณ์ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงได้ง่าย

ประเภทของบุคลิกภาพที่เบี่ยงเบน
                นอกจากลักษณะบุคลิกภาพที่สมบูรณ์หรือบกพร่องดังกล่าวแล้ว ยังมีลักษณะบุคลิกภาพที่ครูควรขจัดและระวังไม่ให้ศิษย์แสดงออก ได้แก่
         1)  พวกบุคลิกภาพไม่สมวัย (Inadequate Personality)เป็นพวกที่ปรับตัวยาก การแสดงออกไม่เหมาะสมกับวัย แก่แดด
        2)  พวกปลีกสังคม(Schizophrenia Personality)เป็นพวกแยกตัวออกจากสังคม ชอบสมมติตนเองตามจินตนาการ
        3)  พวกชอบชิงดีชิงเด่น(Cyclothymiac Personality)เป็นพวกชอบแข่งขัน การแสดงออกทางอารมณ์รุนแรง มีความกระตือรือร้นสูง
        4)  พวกเชื่อมั่นสูง(Paranoid Personality) เป็นผู้เชื่อมั่นความสามารถของตนเองอย่างมากไม่ยอมวางใจผู้อื่น
        5)  พวกอ่อนวุฒิภาวะ(Immature Personality)เป็นผู้ที่ควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตนเองไม่ค่อยได้ และมักใช้พฤติกรรมถดถอยไปในวัยทารก
        6)  พวกอารมณ์ไม่มั่นคง(Emotionally Unstable Personality)เป็นผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวนเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเอาแน่เอานอนไม่ได้
        7)  พวกพิถีพิถัน (Compulsive Personality)เป็นผู้ที่มีความระมัดระวังตัวเกินไปเปลี่ยนแปลงได้ยาก ยึดมั่นกับบางสิ่งอย่างเคร่งครัด
       8)  พวกแสดงพฤติกรรมเข้มข้น(Conversion Reaction หรือ Hysteria)เป็นผู้ที่มักแสดงออกอย่างรุนแรงในทุกๆเรื่อง
        9) พวกพฤติกรรมผิดสังคม(Sociopathic Personality)มี 2 แบบ คือ
            9.2)  พวกสังคมยุ่งยิ่ง(Social Disorders)
            9.3)  พวกเบี่ยงเบนทางเพศ (Sexual Deviation)

ลักษณะของบุคลิกภาพต่างๆ ดังกล่าวนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพครูควรทำควรเข้าใจเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลิกของตนเองให้เหมาะสม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และสังคม  อีกทั้งเป็นลักษณะของบุคลิกภาพที่ครูส่งเสริมหรือช่วยขจัดแก่ศิษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comments system

Disqus Shortname